RSS

1.พีระมิดแห่งเมืองกิซา

1.พีระมิดแห่งเมืองกิซา

1 old

พีระมิดคูฟู หรือ พีระมิดคีออปส์ นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า มหาพีระมิดแห่งกีซา (The Great Pyramid of Giza) เป็น พีระมิดในประเทศอียิปต์ที่มีความใหญ่โตและเก่าแก่ที่สุด ในหมู่พีระมิดทั้งสามแห่งกีซา เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัย ฟาโรห์คูฟู (Khufu) แห่ง ราชวงศ์ที่ 4 ซึ่งปกครองอียิปต์โบราณ เมื่อประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล หรือกว่า 4,600 ปีมาแล้ว เพื่อใช้เป็นที่เก็บรักษาพระศพ ไว้รอการกลับคืนชีพ ตามความเชื่อของชาวอียิปต์ในยุคนั้น มหาพีระมิดนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก และเป็นหนึ่งเดียว ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณ ที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน

วิธีการสร้างมหาพีระมิดแห่งกิซ่า

177021_366079320148291_522541149_o

วิธีการยกแท่งหินขนาดใหญ่หนักหลายสิบตัน เพื่อประกอบขึ้นเป็นพีระมิดอย่างแม่นยำยังเป็นปริศนา โครงสร้างเหนือห้องเก็บโลงพระศพ ในพีระมิดคีออปส์ ประกอบขึ้นด้วย แท่งหินแกรนิตสีแดงขนาดใหญ่หลายสิบแท่งซ้อนทับกัน 5 ชั้น แต่ละแท่งมีน้ำหนัก 50 ถึง 70 เมตริกตัน แท่งหินขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบในหมู่พีระมิดกิซ่าอยู่ภายในวิหารข้างพีระมิดเมนคีเรเป็นแท่งหินปูนที่มีน้ำหนักมากถึง 200 เมตริกตัน เป็นน้ำหนักประมาณเท่ากับชิ้นส่วนหนักที่สุดภายในเรือไททานิค ซึ่งไม่มีปั้นจั่นใดๆ ในอู่ต่อเรือขณะนั้นสามารถยกได้ จนผู้สร้างเรือต้องว่าจ้างทีมงาน ชาวเยอรมัน มาสร้างปั้นจั่นยักษ์สำหรับยกชิ้นส่วนดังกล่าว

เฮโรโดตุส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ซึ่งเดินทางไปอียิปต์ช่วง 450 ปีก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 2 พันปีเศษหลังจากพีระมิดสร้างเสร็จ ได้บันทึกคำบอกเล่าของนักบวชชาวอียิปต์โบราณไว้ว่า ในการสร้างพีระมิดชาวอียิปต์โบราณมีอุปกรณ์บางอย่างทำด้วยไม้ใช้สำหรับยกหินขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามไม่พบหลักฐานอื่นๆ ที่อ้างอิงถึงเครื่องมือนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด หรือบันทึกโบราณ เฮโรโดตัสยังได้บันทึกไว้ว่าการก่อสร้าง พีระมิดคูฟู ทำเฉพาะช่วงฤดูน้ำหลากซึ่งประชากรว่างจากการเพาะปลูก นั่นคือ ประมาณปีละ 3 – 4 เดือน และก่อสร้างอยู่ 20 ปี จึงแล้วเสร็จ

เนื่องจากเทคโนโลยีในขณะนั้นยังไม่มีระบบปั้นจั่นไม่รู้จักแม้กระทั่งล้อเลื่อน และไม่มีหลักฐานการใช้พาหนะที่ลากด้วยแรงสัตว์ การเคลื่อนย้ายหินจึงใช้แรงงานคนลากเข็นไปบนแคร่ไม้ โดยมีการราดน้ำเพื่อช่วยลดแรงเสียดทาน การเคลื่อนย้ายวัตถุน้ำหนักมากๆ ด้วยวิธีนี้มีหลักฐานเป็นภาพแกะสลักนูนต่ำบนฝาผนังหิน ซึ่งแสดงการเคลื่อนย้ายเทวรูปหินขนาดใหญ่ด้วยแรงคนนับร้อย

วิธีการลำเลียงหินขึ้นสู่บริเวณก่อสร้างในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างการก่อสร้างคืออีกส่วนหนึ่งที่เป็นปริศนา แนวคิดแรกเริ่มเชื่อกันว่าชาวอียิปต์โบราณใช้วิธีสร้างทางลาดบริเวณด้านข้างของพีระมิด และชักลากหินขึ้นตามทางลาดที่ก่อสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความสูงของระดับการก่อสร้างจนถึงจุดสูงสุดยอด และเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จจึงทำการรื้อทางลาดดังกล่าวออกคงเหลือไว้แต่ พีระมิด ที่สร้างเสร็จ ถ้าแนวคิดนี้เป็นจริงสิ่งก่อสร้างใหญ่ที่สุดในโลกยุคนั้นอาจไม่ใช่พีระมิดคูฟู แต่อาจเป็นทางลาดสูงเท่าตึก 40 ชั้นที่ใช้ก่อสร้างพีระมิดแทน มีแนวคิดอื่นๆ เสนอว่าทางลาดดังกล่าวอาจไม่ได้สร้างอยู่ด้านใดด้านหนึ่งข้างพีระมิด แต่อาจสร้างเป็นทางวนรอบพีระมิดแทน หรืออาจบางทีแต่ละชั้นของพีระมิดนั่นเองคือทางที่ใช้ชักลากหินขึ้นสู่ชั้นถัดไป ผ่านทางลาดขนาดเล็กที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างแต่ละชั้น

1180457001

แม้จะยังไม่มีข้อสรุปถึงวิธีการลำเลียงหินขึ้นสู่บริเวณก่อสร้าง แต่การประกอบหินแต่ละก้อนสามารถสรุปได้ว่าผ่านการตัดแต่งแบบก้อนต่อก้อน เนื่องจากแต่ละก้อนต้องมีขนาดและแง่มุมพอดีกับหินก้อนอื่นๆที่จัดเรียงไว้ก่อนหน้า เพราะในการก่อสร้างพีระมิดไม่มีการใช้วัสดุเชื่อมประสาน หินแต่ละก้อนวางซ้อนกันอยู่ได้ด้วยน้ำหนักกดทับด้านบน และระนาบที่เท่ากันในแต่ละชั้นจึงต้องตัดแต่งอย่างปราณีตแบบก้อนต่อก้อนก่อนประกอบเข้าสู่ตำแหน่ง

ด้วยเครื่องมือง่ายๆ อย่างไม้วัดระดับแนวราบ และสายดิ่งที่ใช้ตรวจสอบผิวหน้าหินในแนวตั้ง โดยใช้ลิ่มหินควอตซ์ (Quartz) ซึ่งเป็นหินอัคนีความแข็งสูงในการขัดแต่งผิวหน้าของหินแต่ละด้านให้เรียบ ช่างหินอียิปต์โบราณสามารถสร้างผลงานดีเยี่ยม จนผิวสัมผัสระหว่างหินแต่ละก้อนห่างกันเพียง 0.02 นิ้วเท่านั้น

ควรทราบอีกว่า ณ เวลานั้นโลกยังไม่เข้าสู่ ยุคเหล็ก โดยที่เทคโนโลยีการตีเหล็กยังไม่ถูกพัฒนาขึ้นจนกว่าอีก 1 พันปีต่อมา เครื่องมือโลหะที่มีใช้ในสมัยนั้นทำด้วย ทองแดง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายหากต้องการตัดหินปูนและหินแกรนิตให้ได้ขนาดและรูปทรงตามต้องการ ผู้ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยียุคโบราณเชื่อว่า ช่างอียิปต์โบราณใช้ แท่งโลหะพันด้วยเชือก เพื่อหมุนปั่นแท่งโลหะเจาะรูลึกในก้อนหินโดยมีการโรยผงทรายลงในรูที่เจาะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือ

นิยามของมหาพีระมิดแห่งเมืองกิช่า

38_20081029160555.

เคยมีการกล่าวเอาไว้ว่าการสร้างพีระมิดแห่งเมืองอียิปต์นั้นอาจจะไม่ใช่ ฝีมือของมนุษย์ในสมัยของอียิปต์โบราณ แต่อาจจะเป็นฝีมือของชาวแอตแลนติส ที่ได้สร้างเอาไว้ (ดูจากบทความ “แอตแลนติส“) ทำให้มีหลายแนวความคิดที่แสดงให้เห็นว่าปิรามิดได้ถูกสร้างขึ้นโดยมีนัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโลก ดังจะเห็นได้จากคำนิยามของคำว่า “ปิรามิด” จากนักปราชญ์หลายท่าน เช่น อาร์คิเมดิส นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกได้ให้นิยามของ “ปิรามิด” ดังนี้

  • ผลรวมระยะทั้ง 4 ด้านของฐานหารด้วย 2 เท่าความสูง = 3.1416 (ค่าไพ = 3.14159 26535 89793 23846 26433 83279 50288 41971 69399 37510)
  • ค่าการวัดเป็นนิ้ว (Pyramidal Inch) สามารถคำนวณออกมาเป็นขนาดใกล้เคียงกับขนาดของโลกเช่น 50 นิ้วปิรามิด = 1 ใน 10 ล้านของแกนขั้วโลก
  • ผลรวมของด้านฐาน = จำนวนวันใน 1 ปี ซึ่งก็คือ 365.240
  • สองเท่าของความสูงปิรามิด เมื่อคูณด้วย 10 ล้าน = ความยาวระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์โดยประมาณ
  • 1 นิ้วปิรามิด คูณด้วย 10 ล้าน = ค่าใกล้เคียงกับระยะทางของวงจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ (ค่าแตกต่างเพียงเล็กน้อย อธิบายได้ว่าความกว้างวงโคจรตอนที่สร้างกับตอนนี้แตกต่างกัน)
  • น้ำหนักของปิรามิดประมาณ 6 แสนตัน คูณด้วย 100,000,000,000,000 = น้ำหนักของโลกโดยประมาณ

มหาพีระมิดกีซ่า

• มหาพีระมิดกีซ่า (Giza Plateau) : 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ

สถานที่ตั้ง : เมืองกีเซ่ห์

ผู้ที่สร้าง : กษัตริย์คีออปส์(CHEOPS) หรือคูฟู (Khufu), กษัตริย์คาเฟร (Khafre) และกษัตริย์คูเร (Menkaure)

ปีที่สร้าง : ประมาณ 4,500 ปีมาแล้วครับ

ค่าเข้าชม : 50 ปอนด์ (ประมาณ 300 บาท)

Day16_05_resize

• พีระมิด สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ฝังพระศพของกษัตริย์อียิปต์โบราณ ชาวอียิปต์ในสมัยนั้นเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย ดังนั้นจึงต้องแน่ใจว่ากษัตริย์ของพวกเขาจะทรงมีทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็น สำหรับโลกหน้า พวกเขาได้ฝังทรัพย์สินและสิ่งของส่วนพระองค์ไปพร้อมกัน สิ่งที่นักโบราณคดีค้นพบเป็นจำนวนมากในห้องเก็บสมบัติของปิรามิดได้แก่เพชร พลอย อาหาร เครื่องเรือน เครื่องดนตรี และอุปกรล่าสัตว์

• พีระมิด ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกได้แก่ พีระมิดเห่งเมืองกีซ่า (เมืองกีเซห์) ซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมศพของกษัตริย์คีออปส์(CHEOPS) หรือ คูฟู ซึ่งพระองค์เป็นผู้สร้างขึ้นเองเมื่อก่อนคริสตกาลประมาณ 25,800 ปี นับอายุจนถึงปัจจุบันก็กว่า 4,500 ปี ถือเป็นพีระมิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ที่กลางทะเลทราย พีระมิดแห่งนี้เดิมสูง 481.4 ฟุต แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 450 ฟุต ฐานกว้าง 768 ฟุต ใช้หินทรายตัดเป็นแท่งรูปสามเหลี่ยมหนักประมาณก้อนละ 2 ตันครึ่ง บางก้อนหนักถึง 16 ตัน โดยการนำเอามาซ้อนกันขึ้นไปเป็นทรงกรวย เชื่อกันว่าพีระมิดองค์นี้จะทนแดดทนฝนอยู่ได้อีกนานกว่า 5,000 ปี และเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของยุคโบราณสิ่งเดียวเท่านั้นที่มีอายุยืนยาวมาจนถึง ปัจจุบัน

• พีระมิดแห่งกีซ่าประกอบด้วย

1.พีระมิดคูฟู (Khufu) หรือ มหาพีระมิดแห่งกิซ่า (The Great Pyramid of Giza) ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน มีขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า

2.พีระมิดคาเฟร (Khafre) ตั้ง อยู่ตรงกลางของพีระมิดทั้ง 3 และสร้างอยู่บนพื้นที่สูง ทำให้ดูเหมือนมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีบางคนเข้าใจผิดว่าพีระมิดคาเฟรคือมหาพีระมิดแห่งกิซ่า ทางทิศตะวันออกของพีระมิดคาเฟรมี มหาสฟิงซ์(The Great Sphinx of Giza) หินแกะสลักขนาดมหึมาที่มักปรากฏในภาพถ่ายคู่กับพีระมิดคาเฟร

3.พีระมิดเมนคูเร (Menkaure) ขนาด เล็กที่สุดและเก่าแก่น้อยที่สุดในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า จากตำแหน่งการก่อสร้างทำให้คาดได้ว่า เดิมอาจตั้งใจสร้างให้มีขนาดใกล้เคียงพีระมิดคูฟู และพีระมิดคาเฟรแต่ในที่สุดก็สร้างในขนาดที่เล็กกว่า พีระมิดเมนคูเรมักปรากฏในภาพถ่ายพร้อมกับหมู่พีระมิดราชินีทั้ง 3 (The Three Queen’s Pyramids)

2_3

สฟิงซ์อียิปต์ เป็นการผสมกันระหว่างมนุษย์กับสิงโต ส่วนหัวที่เหมือนมนุษย์นั้น มีสัญลักษณ์ของฟาโรห์อียิปต์แสดงไว้คือมีเคราที่คาง ตรงหน้าผากมีงูแผ่แม่เบี้ยและมีเครื่องประดับ รัดเกล้าแบบกษัตริย์

รูปสลักสฟิงซ์ของอียิปต์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ มหาสฟิงซ์ (The Great Sphinx of Giza) บริเวณใกล้กับพีระมิดคาเฟร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า (Giza Pyramid Complex)

หน้าที่ของสฟิงซ์ : สฟิงซ์เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของกษัตริย์ หรือเป็นสัตว์ที่มีชาญฉลาดและมีพลังเพื่อปกป้องพระศพและทรัพย์สมบัติภายในพีรามิด

สฟิงซ์ยักษ์แห่งกีซ่า ถือเป็นสฟิงซ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แกะสลักจากหินก้อนขนาดมหึมาเพียงก้อนเดียว โดยมีความยาวของลำตัวที่ 73.5 เมตร สูง 21 เมตรใบหน้ามีความยาว 5 เมตร จมูกยาว 2 เมตร ส่วนเคราไม่สามารถระบุตัวเลขของขนาดได้ ปัจจุบันนี้เคราและจมูกของสฟิงซ์ยักษ์ตัวนี้ ถูกแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ BRITISH MUSEUM กรุง ลอนดอน ส่วนลำตัวของสฟิงซ์ มีรอยผุกร่อนอย่างชัดเจนทั้งจากสภาพภูมิอากาศอันเลวร้ายในทะเลทรายและพายุ ทรายพัดกระหน่ำทับถมอยู่เป็นประจำ และเนื่องจากถูกแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลากในอดีตท่วมมาถึงครึ่งตัว กัดกร่อนให้บริเวณฐานเสียหายและเหลือร่องรอยการแช่น้ำ ทำให้ปัจจุบันนี้สฟิงซ์ยักษ์อยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์เท่าไรนัก แต่ก็สามารถมองภาพความยิ่งใหญ่ในอดีตได้จากสิ่งที่ยังเหลืออยู่

5309040303

 

Leave a comment