RSS

1.โคลอสเซียม

โคลอสเซียม

colosseum1

     โคลอสเซียม (Colosseum) คือ โครงสร้างวงกลมรี มี 4 ชั้น แยกเป็นสองส่วน ส่วนบนประกอบด้วย ระเบียงเปิด 3 ชั้น สร้างด้วยหินปูน และชั้นที่ 4 สร้างเป็นห้องพร้อมด้วยออกแบบหน้าต่างเว้นระยะสองห้องต่อหนึ่งช่อง เส้นผ่านศูนย์กลางจากด้านตะวันออกถึงตะวันตก 188 เมตร จากทิศเหนือจดทิศใต้ 156 เมตร วัสดุสำคัญในการก่อสร้าง ประกอบด้วย เสาหลักสร้างด้วยหินปูนแกร่ง ขณะที่เสาทั่วไปสร้างด้วยหินปูนชนิดพรุนและอิฐ พื้นและกำแพงสร้างด้วยกระเบื้อง และเพดานทรงโค้งภายในอาคารสร้างด้วยซีเมนต์ จากการใช้วัสดุผสมในงานก่อสร้างดังกล่าว ทำให้ โคลอสเซียม มีความทนทานสูง นอกจากจะเป็นสถาปัตยกรรมมหึมาอายุกว่า 1,900 ปี แล้ว ยังทำให้นักประวัติศาสตร์ต้องอึ่งในความสามารถในผู้คนสมัยนั้นอีกอย่าง คือ ใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 10 ปี ด้วยความสามารถและเครื่องมือในสมัยนั้น ไม่น่าจะสร้างสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่และจุผู้คนระดับ 5 หมื่นคนขึ้นไป ได้เร็วเพียงนี้!

sunset-colosseum_00395299

สร้างกำนัลไพร่ฟ้า

นักประวัติศาสตร์บันทึกประวัติที่มาจาก โคลอสเซียม ไว้ว่า ก่อสร้างเมื่อปี ค.ศ. 72 ในสมัยจักรพรรดิเวสปาเซียน (Vespasian) กษัตริย์ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฟลาเวียน (Flavian) สถานที่ก่อสร้างเป็นบริเวณที่ลุ่มระหว่าง 4 เนินเขา ประกอบด้วย ปาลาไทน์ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เวเลีย ทางทิศตะวันตก เชลิโอ ทางทิศตะวันออก และคอล ออพพิโอ หรือเอสควิไลน์ (ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะ) ทางทิศเหนือ

inside-the-colosseum

เดิมทีพื้นที่แห่งนี้ เป็นที่ตั้งของพระราชวังของจักรพรรดิเนโร (Nero) ซึ่งพระองค์ทรงยึดมาจากที่ดินของประชาชน จนกระทั้งจักพรรดิเนโร ได้สิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 68 ก่อเกิดการชิงพระราชบัลลังก์อยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งจักรพรรดิเวสปาเซียน ทรงได้รับชัยชนะ และขึ้นครองราชย์ พระองค์มีความประสงค์จะเรียกความนิยมจากชาวโรมัน จึงสั่งรื้อพระราชวังเดิมของจักรพรรดิเนโรออก แล้วสร้างเป็นสนามกีฬา เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมการแสดง และการแข่งขันกีฬาในยุคนั้น

Romano_Triumph_of_Titus_and_Vespasian

แต่แล้วการก่อสร้าง โคลอสเซียม ก็ไม่ทันเสร็จในสมัยจักรพรรดิเวสปาเซียน พระองค์สิ้นพระชนม์ไปก่อน จึงตกเป็นหน้าที่สานต่อของพระจักรพรรดิติตุส พระโอรส ในเวลาต่อมาพระองค์ก็มาสิ้นพระชนม์ไปอีก งานก่อสร้างจึงสมบูรณ์แล้วเสร็จ ในสมัยพระจักรพรรดิโดมิเทียน พระอนุชา กินเวลาก่อสร้างเป็นเวลา 10 ปี

457-1024x517

สำหรับที่มาของคำว่าโคลอสเซียมนัก ประวัติศาสตร์ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ยอมรับร่วมกันได้ ทฤษฏีที่คาดกันว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุด คือ เรียกตามชื่อรูปปั้นทองแดงขนาดใหญ่ “โคลอสซุส” (Colossus) ของจักรพรรดิเนโร ที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณเดียวกัน นั่นเอง

journey

อลังการ! ความจุกว่า 5 หมื่น

ภายในสนามเป็นอัฒจันทร์ที่นั่ง สร้างด้วยหินปูนแกร่ง มีระดับความลาดเอียง 37 องศา มีช่องทางเข้าเป็นสัดส่วนจากภายนอก แต่ละชั้นสูง 4.85 เมตร อัฒจันทร์แถวล่างสุดสูงจากพื้นสนาม 3.60 เมตร บริเวณพื้นสนามมีโพเดี้ยมสร้างด้วยหินอ่อนโดยรอบ ใต้พื้นสนามสร้างเป็นห้องต่างๆ ประกอบด้วย ห้องนักสู้ “เกลดิเอเตอร์” กรงขังสัตว์ที่จะนำมาต่อสู้กับเกลดิเอเตอร์ ห้องเก็บอุปกรณ์เครื่องมือการต่อสู้ของเกลดิเอเตอร์ ห้องเก็บวัสดุก่อสร้างบางส่วน และห้องเก็บ “ลิฟต์” หรือเครื่องยกกรงสัตว์ นอกจากนี้ส่วนหนึ่งของพื้นสนามสามารถเลื่อนออกได้ ใช้เป็นประตูยกกรงสัตว์ขึ้นสู่สนาม

sunset-colosseum_00395299

อัฒจันทร์แต่ละชั้นกำหนดไว้สำหรับผู้ชมแต่ละชนชั้น ขณะที่ประตูบางส่วนจำกัดไว้เฉพาะผู้เข้าชมบางชนชั้นเช่นกัน สนามมหัศจรรย์ยุคโบราณของชาวโรมันแห่งนี้ มีความจุประมาณ 50,000-75,000 ที่นั่ง

1_display

800px-The_Christian_Martyrs_Last_Prayer

สังเวียนเดิมพันชีวิต!

โคลอสเซียม เปิดใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ. 80 สมัยจักรพรรดิติตุส ซึ่งในปีดังกล่าวสนามยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ เพื่อเปิดสนามแข่งขันกีฬาต่างๆ ทั้งเกลดิเอเตอร์สู้กันเอง โดยมีชีวิตเป็นเดิมพัน หรือสู้กับสัตว์ป่า อาทิ สิงโต เสือ และช้าง เป็นต้น โดยมีชีวิตเป็นเดิมพันเช่นกัน และบางทีอาจจะมีแสดงการต่อสู้ระหว่างสัตว์ป่าด้วยกันเอง เช่น เสือสู้กับสิงโต กระทิงสู้กับหมี ฯลฯ เรียกว่าสมัยนั้นมีอะไรที่ต่อสู้กันได้ ไม่พ้นถูกจับให้มาประลองยังที่ โคลอสเซียม อย่างแน่นอน

inside-the-colosseum

 

Leave a comment